ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

รับทำบัญชี.COM | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้รับผิดชอบ?

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีคือใคร
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้รับผิดชอบ
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2. บริษัทจำกัด
3. บริษัทมหาชนจำกัด 4.นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
5. กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
6. สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 3 ข้อ ดังนี้
– มีสถานที่ประกอบกิจการเป็นประจำ
– มีพนักงานประจำ
– มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้
7. บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่ายผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า ประเภทแถบเสียงเพลง แถบวีดิทัศน์ และแผ่นซีดี
– หุ้นส่วนผู้จัดการ
– กรรมการ
– กรรมการ
– บุคคลที่รับผิดชอบการดำเนินการในประเทศไทย
– บุคคลที่รับผิดชอบในการดำเนินการของกิจการ
– ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจ
– เจ้าของหรือผู้จัดการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
1. จัดให้มีผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนด
2. ควบคุมดูแล ผู้ทำบัญชี ให้จัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรงต่อความเป็นจริง
3. จัดให้มีการทำบัญชีนับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชี โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้อง ตามที่กำหนด ในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการ ในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
4. จัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี ซึ่งได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใด ๆ ที่ใช้เป็น หลักฐานในการลงรายการในบัญชี
5. ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นตรงตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชี
6. ต้องปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน เว้นแต่
6.1 รอบปีบัญชีแรกอาจปิดบัญชีไม่ครบ 12 เดือน ก็ได้
6.2 รอบปีบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือ สารวัตรบัญชีให้เปลี่ยนรอบปี บัญชี จะไม่ครบ 12 เดือน ก็ได้
7. ต้องจัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าประกาศกำหนด
8. ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่ งบการเงินของ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกินห้าล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้ใช้บังคับสำหรับการจัด ทำงบการเงิน ซึ่งมีรอบปีบัญชีที่สิ้นสุดลง ในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
9. ต้องยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายในระยะเวลา ที่กำหนด ดังนี้
9.1 ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีสำหรับนิติบุคคลหรือธุรกิจประเภท
(1) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
(2) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(3) กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
9.2 ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินของนิติบุคคลต่อไปนี้ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่
(1) บริษัทจำกัด
(2) บริษัทมหาชนจำกัด
10. ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้
11. กรณีนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรบุคคลธรรมดาซึ่งมีหน้า ที่ต้องจัดทำบัญชีเมื่อเลิกประกอบธุรกิจ ต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ภายใน 90 วัน นับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ
ผู้ทำบัญชี และหน้าที่และความรับผิดชอบ ผู้ทำบัญชี คือ ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้า ที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม ผู้ทำบัญชีได้แก่บุคคลต่อไปนี้
1. กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่  ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี ,สมุห์บัญชี, หัวหน้าแผนกบัญชี, ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว
2. กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ หัวหน้าสำนักงานกรณีที่เป็นสำนักงานที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล, ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีเป็นสำนักงานที่จัดตั้งในรูป คณะบุคคล,กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงาน ที่จัดตั้งในรูปนิติบุคคล
3. บุคคลธรรมดา ที่ประกอบวิชาชีพรับจ้างทำบัญชีอิสระ กรณีเป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ 4. ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี กรณีที่ “ผู้ทำบัญชี” รับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย
5. บุคคลอื่นนอกจากที่ระบุตาม 1.1-1.4 ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
1. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
3. ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายบัญชี กฎหมายผู้สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
4. มีคุณวุฒิการศึกษาตามขนาดธุรกิจในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
(1) กลุ่ม 1 ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ณ วันปิดบัญชี ในรอบปีที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ กรณีที่ทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้ รวมของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ผู้ทำบัญชีไม่มีคุณสมบัติ ให้ผู้ทำบัญชีสามารถเป็น ผู้ทำบัญชีของกิจการนั้นต่อไปได้เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง
(2) กลุ่ม 2 ผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่มีทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม รายการใดรายการหนึ่ง เกินกว่าที่กำหนดในกลุ่ม 1 บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน/หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุน ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่า เงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี
ผู้ทำบัญชีจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้

1. แจ้งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี พร้อมด้วยหลักฐานตามที่กำหนดต่ออธิบดี ตามแบบ ส.บช. 5 และ ส.บช.5-1 ภายใน 60 วัน นับจาก
(1) วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ (10 สิงหาคม 2544) กรณีทำบัญชีอยู่แล้ว
(2) วันเริ่มทำบัญชี
(3) วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้ทำบัญชี
2. เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ รอบสามปี
3. ต้องรับทำบัญชีไม่เกินปีละ 100 ราย หากเกินจะต้องมีผู้ช่วยที่มีคุณวุฒิเช่นเดียวกับ ผู้ทำบัญชีอย่างน้อย 1 คน ในทุก ๆ 100 ราย ที่เกิน 100 รายแรก เศษของ 100 ถ้าเกินกว่า 50 ให้นับ เป็น 100
หน้าที่ของผู้ทำบัญชี
1. จัดทำบัญชีเพื่อให้แสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของ “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชีโดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน
2. ลงรายการบัญชีเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับหรือลงรายการเป็นรหัสบัญชี ให้มีคู่มือคำแปรรหัสบัญชีที่เป็นภาษาไทยไว้
3. เขียนด้วยหมึก ดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชี หมายความถึง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมาตรฐาน การบัญชีที่กำหนด ตามกฎหมาย           ในปัจจุบัน คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.)ได้มีมติให้ประกาศ ใช้มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แห่งประเทศไทย จำนวน 33 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วยแม่บทการบัญชี 1 ฉบับ มาตรฐานการบัญชี 28 ฉบับ และการตีความมาตรฐานการบัญชี
4 ฉบับ เป็นไปตาม ประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2543) ดังนี้ ลำดับที่ ฉบับที่ มาตรฐานการบัญชีเรื่อง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 – 7 8 11 14 21 24 25 26 27 29 30 31 32 33 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48
แม่บทการบัญชี การบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อ
– ทางด้านผู้ให้เช่าซื้อ การบัญชีสำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ การบัญชีสำหรับการวิจัยและพัฒนา เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าและเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน งบกระแสเงินสด การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าระยะยาว ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ต้นทุนการกู้ยืม การนำเสนองบการเงิน การด้อยค่าของสินทรัพย์ การรับรู้รายได้ กำไรต่อหุ้น กำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด ข้อผิดพลาดที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงทางบัญชี การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน งบการเงินระหว่างกาล การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน การรวมธุรกิจ งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม รายงานทางการเงินเกี่ยวกับส่วนได้เสียในการร่วมค้า การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล สำหรับเครื่องมือทางการเงิน การตีความตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน ลำดับที่ เรื่อง 1. 2. 3. 4. สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้ งบการเงินรวม
– บริษัทย่อยที่เป็นกิจการเฉพาะกิจ เครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่ออกโดยสถาบันการเงิน การด้อยค่าของสินทรัพย์
– รายจ่ายที่กิจการในขั้นพัฒนาและกิจการที่พัฒนาแล้วบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ ขณะนี้มีประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2545) เรื่อง มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจ ที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2545 มี 7 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 24 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ฉบับที่ 25 งบกระแสเงินสด ฉบับที่ 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ฉบับที่ 44 งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย ฉบับที่ 45 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม ฉบับที่ 47 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ฉบับที่ 48 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน
บัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
การจัดทำบัญชี เมื่อเริ่มต้นประกอบธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องพิจารณาไปพร้อม ๆ กับการวางแผนการดำเนินธุรกิจ คือ การเตรียมการในเรื่องการจัดทำบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การลงบัญชี เพื่อจะได้จัดทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
1. กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียน จะต้องพิจารณาว่าประกอบธุรกิจอะไร หากประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้มีไว้เพื่อจำหน่าย ผู้นำ เข้ามาในราชอาณาจักร หรือผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าประเภทแถบเสียบเพลง แถบวีดิทัศน์ และแผ่นซีดี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีสินค้า นับแต่วันเริ่มต้นประกอบธุรกิจ เป็นต้นไป แต่หากประกอบ ธุรกิจประเภทอื่น ๆ ขณะนี้ยังไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะออกประกาศกำหนดเพิ่มเติมว่าการประกอบธุรกิจประเภทใด มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
2. กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจใน ประเทศไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ีหน้าที่ต้องจัดทำ บัญชีดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
(1) บัญชีรายวัน
(ก) บัญชีเงินสด
(ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
(ค) บัญชีรายวันซื้อ
(ง) บัญชีรายวันขาย
(จ) บัญชีรายวันทั่วไป
(2) บัญชีแยกประเภท
(ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน
(ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
(ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
(ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
(3) บัญชีสินค้า
(4) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็น แก่การทำบัญชีของธุรกิจ
ทั้งนี้ ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างจากที่ได้กำหนดไว้ตามกฎหมาย บัญชีเดิม หรือประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 285 ยกเว้นแต่ในเรื่องของการกำหนดให้จัดทำ”บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร” ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ปฏิบัติให้ถูกต้อง หากมีการเปิดบัญชีธนาคารในนามของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เช่น บริษัท ก, ห้างหุ้นส่วน จำกัด ข ธุรกิจก็ต้องจัดทำบัญชีธนาคาร โดยแยกเป็นแต่ละเลขบัญชีธนาคารที่เปิดบัญชีไว้ให้ครบถ้วน ถูกต้องด้วย จะบันทึกบัญชีธนาคาร โดยนำทุกบัญชีธนาคารที่เปิดใช้มาลงรวมกันเป็นบัญชีเดียวไม่ได้
เอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีหน้าที่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ให้ผู้ทำบัญชี ให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้น แสดงผลตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี ทั้งนี้ เอกสารประกอบการลงบัญชี แยกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้น โดยบุคคลภายนอก 2. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อออก ให้แก่บุคคลภายนอก 3. เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เพื่อใช้ใน กิจการของตนเอง
เอกสารประกอบการลงบัญชีทุกประเภท จะต้องมีรายการตามที่กำหนดในหมวด 4 แห่งประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำฯ พ.ศ. 2544 ซึ่งรายการที่กำหนดจะมีลักษณะคล้ายกับรายการที่กำหนดตามประกาศ กรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ 17 (พ.ศ.2534) เรื่อง กำหนดเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว แต่มีบางรายการที่แตกต่างไป คือ ชนิดเอกสาร (ใหม่) ประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำฯ พ.ศ. 2544 (เดิม) ประกาศกรมทะเบียนการค้า ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2534)
1. ใบเสร็จรับเงิน
2. ใบกำกับสินค้าหรือใบส่งของ
3. เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในกิจการ
– ลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือตั๋วเงิน เว้นแต่เป็นเอกสารที่จัดทำและส่งมอบ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือ อื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
– ลายมือชื่อผู้จัดทำเอกสาร
– วิธีการและการคำนวณต่าง ๆ (ถ้ามี)
– ลายมือชื่อของผู้รับเงินหรือตั๋วเงิน
– การจัดทำงบการเงิน และการนำส่งงบการเงิน การจัดทำงบการเงิน
งบการเงิน หมายความถึง รายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบหรือหมายเหตุประกอบงบการเงินหรือคำ อธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินเดิมกฎหมาย กำหนด รูปแบบรายการย่อตามลักษณะการประกอบธุรกิจ โดยแบบรายการ ย่อของงบการเงิน มีทั้งหมด 22 แบบ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 จำนวน 12 แบบ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 จำนวน 10 แบบ
-ในปัจจุบัน กรมทะเบียนการค้าได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 ใช้แทนกฎกระทรวงเดิม 2 ฉบับ โดยกำหนดรูปแบบรายการย่อตามประเภทนิติบุคคล เป็น
ลักษณะธุรกิจทั่วไป 5 แบบ ดังนี้ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน แบบที่ 1, บริษัทจำกัด แบบที่ 2, บริษัทมหาชนจำกัด แบบที่ 3,นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แบบที่ 4, กิจการร่วมค้า แบบที่ 5 และประเภทของงบการเงิน ที่กำหนดให้จัดทำตามแบบต่าง ๆ มีดังนี้ ประเภทธุรกิจ งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลง ส่วนของผู้ถือหุ้น/งบกำไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแส เงินสด หมายเหตุ ประกอบงบ งบรวม งบการเงิน เปรียบเทียบ หจก.,หสน. (แบบ 1) / / – – / – – บริษัทจำกัด (แบบ 2) / / / – / – / บริษัทมหาชน (แบบ 3) / / / / / / / นิติบุคคลต่างประเทศ (แบบ 4) / / / – / – / กิจการร่วมค้า (แบบ 5) / / / – / – /           ประกาศฉบับนี้บังคับใช้สำหรับงบการเงินที่เริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 แต่หากจะถือ ปฏิบัติก่อนก็ได้ การยกเว้นงบการเงินบางกลุ่มที่ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ           ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544 กำหนดไว้ว่า-ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุน สินทรัพย์ และรายได้ ทุกรายการไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็น โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
(1) ทุนห้าล้านบาท
(2) สินทรัพย์รวมสามสิบล้านบาท
(3) รายได้รวมสามสิบล้านบาท           โดยใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินซึ่งมีรอบปีบัญชีที่สิ้นสุดลงในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป           อย่างไรก็ตาม สำหรับงบการเงินที่ต้องนำส่งให้กับกรมสรรพากร ยังคงต้องมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบอยู่ โดยอาจเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตก็ได้ และต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมทะเบียนการค้าด้วย การนำส่งงบการเงิน
1. เอกสารที่ต้องยื่นเมื่อนำส่งงบการเงิน แบ่งเป็น 2 กรณี 1.1 กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องยื่น – งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน 2 ชุด – แบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) จำนวน 3 ฉบับ 1.2 กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีสำนักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ต้องยื่นเอกสาร ตามข้อ 1.1.1 และ 1.1.2 เพิ่มขึ้นอีก 1 ฉบับ           2. กำหนดเวลาในการยื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชี หรือ สำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายในกำหนด ดังนี้ 2.1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงิน ภายใน 5 เดือน นับแต่วัน ปิดบัญชี 2.2 บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชน ต้องยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงิน นั้น ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่           3. สถานที่ยื่นงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี สามารถยื่นงบการเงินได้ ณ สถานที่ ดังนี้ 3.1 กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นที่สำนัก บริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า 3.2 กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี มีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นที่ สำนักงาน ทะเบียนการค้าจังหวัดนั้น หรือยื่นที่สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้าก็ได้           4. วิธีการยื่นงบการเงิน การยื่นงบการเงินต่อกรมทะเบียนการค้า กระทำได้โดย 4.1 ยื่นงบการเงินด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้าหรือสำนักงานทะเบียน การค้าจังหวัด 4.2 ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับมาตามสถานที่ตามข้อ พร้อมแนบซองที่จ่าหน้ากลับคืนถึงตัวผู้รับพร้อมผนึก ดวงตราไปรษณียากรให้ครบถ้วน การเก็บรักษาบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี ดังนี้ 1. สถานที่จัดเก็บรักษาบัญชีฯ บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีต้องจัดเก็บไว้ ณ  1.1 สถานที่ทำการ หรือ 1.2 สถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิต หรือ 1.3 สถานที่ที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าเป็นประจำ หรือ 1.4 สถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ 2. ระยะเวลาในการจัดเก็บ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ห้าปี นับแต่วันปิดบัญชี หรือจนกว่าจะมีการส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี กรณีผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจโดยมิได้มีการชำระบัญชี
กรณีที่จำเป็นในการตรวจสอบบัญชี อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีอาจกำหนดให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบ การลงบัญชีไว้เกินห้าปี แต่ต้องไม่เกินเจ็ดปีได้ตามพระราช บัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 14-อนึ่ง กรณีที่ได้มีการจัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลา ไม่น้อยกว่าห้าปีนับจากวันปิดบัญชี ู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถทำลายบัญชีและเอกสารประกอบ การลงบัญชีได้โดยไม่ต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี เว้นแต่อธิบดี โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีกำหนดให้เก็บรักษาไว้เกิน 5 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี นับแต่วันปิดบัญชี-ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อประสงค์จะขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ในเรื่องดังต่อไปนี้
การขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี           กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประสงค์จะขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีจะต้องดำเนินการ ดังนี้
1.1 จะต้องยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 10 ตามแบบ ส.บช. 4 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตตามที่ระบุไว้ในแบบ ส.บช. 4 ดังนี้
1.1.1 สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังนี้
-สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
-สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
-สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า
1.1.2 สำเนาหนังสือของกรมสรรพากรที่อนุญาตให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี (ถ้ามี)
1.1.3 สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี
1.1.4 สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท หรือสำเนาข้อบังคับของบริษัทอย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี)
1.1.5 สำเนาแบบนำส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน (ส.บช. 3) ครั้งสุดท้ายก่อนการขออนุญาต
1.1.6 หนังสือมอบอำนาจที่ติดอาการครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและ ผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน)
– สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจ ทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ (ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี
1.2 จำนวนแบบคำขออนุญาตที่ใช้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องยื่นแบบคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี (แบบ ส.บช. 4) จำนวน 1 ชุด           1.3 สถานที่ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชี
1.3.1 กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชีสำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า
1.3.2 กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่นให้ยื่นคำขออนุญาต เปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดที่นิติบุคคล ดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชีสำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่ บัญชีหรือสารวัตรบัญชีแล้วจึงจะเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีอนุญาตแล้วจะมีหนังสือแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร การขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นกรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประสงค ์จะขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลง บัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น ที่มิใช่สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ จะต้องดำเนินการดังนี้
2.1 จะต้องยื่นคำขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น ตามแบบ ส.บช. 1 พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตตามที่ระบุไว้ในแบบ ส.บช. 1 ดังนี้
2.1.1 สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ให้ความยินยอมใช้สถานที่ ดังนี้
-สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
-สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
-สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า
2.1.2 เอกสารสำคัญแสดงสิทธิการใช้สถานที่
-สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ กรณีใช้บริการของธุรกิจรับฝากเก็บบัญชีฯ (บริการคลังสินค้า)
-สำเนาทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน สัญญาเช่า สัญญาซื้อ/ขายที่ดินกรณีธุรกิจเป็นเจ้าของสถานที่ที่นำบัญชีไปเก็บ
-หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ กรณีสถานที่นำบัญชีฯ ไปจัดเก็บเป็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (เป็นกรรมการ, ผู้ถือหุ้น) หรือเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี
2.1.3 แผนที่โดยสังเขปและภาพถ่ายของสถานที่ที่ขออนุญาตนำบัญชีและเอกสารฯ ไปจัดเก็บไว้
2.1.4 หนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดย ผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล พร้อมประทับตราสำคัญ (ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี
2.2 จำนวนแบบคำขออนุญาตที่ใช้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องยื่นแบบคำขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบ การลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น (ส.บช. 1) จำนวน 1 ชุด
2.3 สถานที่ยื่นคำขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น
2.3.1 กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขออนุญาต เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น ต่อสารวัตรบัญชี ประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า
2.3.2 กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น ต่อสารวัตรบัญชีประจำ สำนักงานบัญชีประจำท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดที่นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่ หรือจะยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้าในระหว่างการขออนุญาตให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบ การลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ที่ยื่นขออนุญาต ไปพลางก่อนได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อความหรือรายการ ที่แจ้งไว้ ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ในทางปฏิบัติเมื่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีอนุญาตแล้วจะมีหนังสือแจ้งให้ทราบ เป็นลายลักษณ์อักษร
2.4 กรณีนิติบุคคลขออนุญาตเก็บรักษาบัญชีฯ ไว้ที่อื่นโดยมีสัญญา หรือการให้ความยินยอม มีกำหนดเวลา เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องยื่นคำขออนุญาตพร้อมแนบหลักฐานใหม่ทั้งหมด ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสัญญาเพิ่มเติมหรือต่อท้ายต้องแนบมาพร้อมการยื่นแบบคำขอด้วย การแจ้งบัญชีหรือเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย  กรณีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประสงค์จะแจ้งบัญชีหรือ

นำเสนอข้อมูลทางบัญชีของนิติบุคคล คุณภาพของผู้ทำบัญชี

          ผู้ทำบัญชีเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทำและนำเสนอข้อมูลทางบัญชีของนิติบุคคล คุณภาพของผู้ทำบัญชีย่อมส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลทางด้านบัญชี ผู้ทำบัญชีจึงจำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินอย่างเพียงพอ พระราชบัญญัติการบัญชีได้ตระหนักถึงบทบาทของผู้ทำบัญชีต่อความถูกต้องของข้อมูลบัญชี จึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าท จัดทำบัญชี และได้กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของบุคคลที่จะเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายไว้ด้วย
 ผู้ทำบัญชี หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม ซึ่งได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
1. กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
2. กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ
– หัวหน้าสำนักงาน กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
– ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
– กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล
– บุคคลธรรมดา กรณีที่เป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ ผู้ช่วยผู้ทำบัญชี ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย
ตามที่กำหนดในประกาศกรมทะเบียนการค้า
เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ 7 ( 3 )
ซึ่งผู้ช่วยทำบัญชีในที่นี้ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ทำบัญชีและถือเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายบัญชี บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากบุคคลที่มีความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายบัญชี ซึ่งผู้ทำบัญชีดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการบัญชีมาโดยเฉพาะจึงต้องมีคุณสมบัติที่กฎหมายกำหนดจึงจะเข้ามาเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามกฎหมายบัญชีได้ และผู้ทำบัญชีจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ประกาศเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543
โดยมีข้อกำหนดโดยสรุปดังนี้
1. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
3. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
4. มีคุณวุฒิทางการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( กพ. ) หรือ กระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าคุณวุฒิดังนี้
( 1 ) อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ซึ่งสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามี ทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มี สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และรายได้ รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
( 2 ) ปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ซึ่งสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ บริษัทจำกัด นอกจากคุณสมบัติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าต้องการเป็นผู้จัดทำบัญชีในยุคโลกาภิวัฒน์ ต้องใฝ่รู้ ต้องมีคุณธรรม มีวินัย จรรยาบรรณ จริยธรรม มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญยิ่งต้องทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศ ชาติให้มากที่สุด จึงจะเป็นผู้จัดทำบัญชีได้
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )